รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นประธานโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษา ๗๐ พรรษา จัดโดยมูลนิธิกาญจนบารมี ร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต นวัตกรรมการจัดการสุขภาพยุคดิจิทัล และภาคีเครือข่ายจากพื้นที่ดุสิต ณ ลานกิจกรรมโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สโรชา บินอับดุลเลาะ รายงาน/ถ่ายภาพ#prssru#ssru#ssruswitchเว็บไซต์มหาวิทยาลัย https://ssru.ac.th
==================
“ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์” อธิการบดีมรภ.สวนสุนันทา ร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยฯ และมูลนิธิกาญจนบารมี เปิดโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ในกลุ่มสตรีสุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส
รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นประธานโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 70 พรรษา พุทธศักราช 2565 จัดโดย หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตนวัตกรรมการจัดการสุขภาพยุคดิจิทัล (HIDA) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมูลนิธิกาญจนบารมี นอกจากนี้ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตนวัตกรรมการจัดการสุขภาพยุคดิจิทัล (HIDA) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ยังได้มอบเงินสมทบทุนให้แก่มูลนิธิกาญจนบารมี จำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) อีกด้วย
อธิการบดี กล่าวว่า “มะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย แต่ละปีพบว่าสตรีไทยเป็นมะเร็งเต้านมเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยราภัฏสวนสุนันทา จึงได้จัดหน่วยคัดกรองมะเร็งเต้านมให้บริการกับประชาชนที่ด้อยโอกาส เพื่อให้เข้าถึงการรักษาได้อย่างทันท่วงที”
ดร.ฐาณิญา พงษ์ศิริ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวว่า “การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การค้นพบหรือวินิจฉัย ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และรีบรักษาทันที ซึ่งสามารถทำได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หรือการเอกซเรย์ด้วยเครื่องแมมโมแกรม จะพบก้อนขนาดเล็ก สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เอกซเรย์ด้วยเครื่องแมมโมแกรม ไม่ได้อยู่ในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้ประชาชนด้อยโอกาสไม่สามารถเข้าถึง บริการได้ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และหลักสูตร HIDA จึงได้ร่วมกับมูลนิธิกาญจนบารมี จัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องแมมโมแกรม เพื่อสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษา 70 พรรษา ปีพุทธศักราช 2565 การค้นหาผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม รวมถึง สอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมกับกลุ่มสตรีผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ซึ่งการตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม โดยทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
“ในการตรวจเอกซเรย์เต้านมเครื่องแมมโมแกรม เป็นการตรวจทางรังสีที่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป แต่ได้ภาพที่มีความละเอียดสูงและคมชัดมากกว่า ทำให้สามารถค้นหาความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถเห็นจุดหินปูนในเต้านม ซึ่งบางครั้งมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถคลำหรือตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์พบ ดังนั้นการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม จึงมีประโยชน์ในการตรวจหามะเร็งเต้านมขนาดเล็ก รวมทั้งเการอัลตราซาวด์เต้านม เพื่อเป็นการตรวจหาความผิดในเต้านมด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงอีกด้วย” ดร.ฐาณิญา กล่าว
ทั้งนี้ ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี ประธานมูลนิธิกาญจนบารมี และคณะกรรมการมูลนิธิ ได้นำหน่วยคัดกรองมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ ประกอบด้วย รถนิทรรศการ รถสอนการตรวจเต้านม และรถเอ็กซเรย์เต้านม โดยมีภาคีเครือข่ายสโมสรไลออนส์วาสุกรีช่วยคัดกรองนำสตรีกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งมวลชนในพื้นที่ ตลอดจนเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่เขตดุสิตเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้จัดกิจกรรมเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน เพื่อให้ประชาชนในเขตดุสิตได้ร่วมกันรณรงค์วินัยจราจร การข้ามทางม้าลายให้ปลอดภัยของวุฒิสภา ด้วยคำขวัญที่ว่า “หยุดสูญเสีย หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ความดีที่คุณทำได้” อีกด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ : ข่าว
สโรชา บินอับดุลเลาะ : ถ่ายภาพ
www.ssru.ac.th